Tuesday, August 31, 2021

ท่องเที่ยววิถีชุมชน: เที่ยวทุ่ง หากินข้าวเที่ยง

เที่ยวทุ่ง หากินข้าวเที่ยง Leave from office to rice field and with have lunch     
นั่งทำงานที่มหาวิทยาลัย จันทร์ ถึงเสาร์ 8.00-21.00 น. กับการประชุม สอน ให้คำปรึกษาออนไลน์ ในห้องสี่เหลี่ยมคนเดียว 

     วันอาทิตย์ขอไปเที่ยวทุ่ง เก็บภาพธรรมชาติ หากินข้าวเที่ยงที่บ้านยาย ที่อยู่บ้านนอก ถามยายตั้งแต่ก่อนไปว่า มีอะไรให้กินบ้าง ยายบอกว่า จะกินแกงสายบัว ก็ไปเก็บเองโลด แกงแบบบ้านๆ จัดไปครับ…..ตามภาพประกอบเรื่องราว ประสบการณ์ดีๆ….

     วันหน้าไปเที่ยวกัน เที่ยววิถีชนบท…. บ้านหนองหว้า ตำบลตลาดไทร อำเภอชุมพวง จังหวัดโคราช

     If you are interested in visit country atmosphere of Thailand just tell me.










ผักกะเฉด


ผักก้านจอง


ดอกผักก้านจอง






















Wednesday, April 11, 2018

เรียนรู้นอกห้องเรียน ตอน พืชผักพื้นบ้าน ในจังหวัดนครราชสีมา

สันติ วัฒฐานะ
11 เมษายน 2561

ทุกครั้งที่เดินในตลาด ผมจะมุ่งความสนใจไปที่ชนิดผักแปลกๆ เพราะอยากที่จะทราบว่าเป็นผักชนิดใด นำไปกินอย่างไร และด้วยความที่เป็นนักพฤกษศาสตร์สายอนุกรมวิธานพืช ที่ต้องรู้จักชนิดของพืชแล้ว การที่ได้ทราบว่า พืชพื้นเมืองชนิดไหนนำมาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะการนำมากินเป็นอาหาร มันเป็นอรรถรสของชีวิตอย่างหนึ่ง

เมื่อมาเป็นอาจารย์สอนในสาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จึงได้มีโอกาสถ่ายทอด ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้จากการประสบการณ์ของผมเองไปสู่นักศึกษาชีววิทยา ด้วยการนำพาไปศึกษาผักพื้นบ้านในตลาดนัดตอนเย็น หน้าสวนสัตว์นครราชสีมา ในวันพุธ ที่ 11 เมษายน 2561 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชาพฤกษศาสตร์เศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายให้นักศึกษารู้จักชนิดพืชผักพื้นบ้าน ฝึกกระบวนการคิดในการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ด้วยการให้สังเกต ตั้งคำถาม และหาคำตอบ ก่อนการเข้าพื้นที่และในระหว่างเข้าพื้นที่ แล้วมาสรุปประเด็นที่ได้เรียนรู้ในบรรยากาศจริงร่วมกัน รวมถึงถอดบทเรียนและแสดงความคิดเห็นร่วมกัน

ความหลากหลายของผักในตลาดสด หน้าสวนสัตว์นครราชสีมา จ.นครราชสีมา

           จากการสำรวจแผงขายผักในตลาดแห่งนี้ จำนวน 20 ร้าน ในวันที่  11 เมษายน 2561 พบพืชผักจำนวน 75 ชนิด โดยมีพืชผักพื้นบ้านที่เก็บหามาโดยไม่ได้ทำการปลูกในปริมาณมากเพื่อการค้า จำนวน 30 ชนิด (ประมาณ 40% ของชนิดผักที่มีขายในตลาด) ได้แก่ แต้ว ยอดมะกอก ผักกาดสร้อย ผักแว่น หูปลาช่อน ก้านกะบุก พฤกษ์ ชะมวง สายบัวแดง ผักละม่อม กะทกรก ผักเม็ก ขี้เหล็ก ดอกกระเจียว ผักอีนูน ตำลึง เป็นต้น แสดงให้เห็นว่ายังคงความหลากหลายของชนิดผักพื้นเมืองอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว แต่ก็น่าเป็นห่วงเพราะคนรุ่นใหม่ มีความนิยมที่จะกินผักเหล่านี้น้อยลงไปตามวิถีการดำรงชีวิตแบบเร่งด่วน อย่างไรก็ตามผักที่เก็บจากป่าเหล่านี้ เป็นผักที่ปลอดสารเคมี การรับประทานผักเหล่านี้ย่อมดีแน่นอน และถ้าคิดว่าการทำอาหาร คือ การผ่อนคลายจากการงาน มาคิดเมนูจากผักพื้นบ้านทำกินเองกันเถอะครับ

ผลลัพธ์จากการเรียนรู้ของเด็กๆ ในครั้งนี้

           ก่อนการเข้าพื้นที่ผมได้มอบหมายงานให้นักศึกษาเก็บข้อมูลเพื่อเขียนบทความเชิงสารคดีเกี่ยวกับผักในตลาด และหลังจากที่ผมให้เด็กๆ ไปเดินดูชนิดผักพื้นบ้าน ตามความสนใจของแต่ละคน ประมาณครึ่งชั่วโมงแล้ว ให้กลับมาอภิปรายร่วมกันทั้งกลุ่ม ซึ่งประเด็นที่เด็กๆ ได้มาแลกเปลี่ยนกัน ได้แก่ (1) ที่มาของผักชนิดต่างๆ ว่ามาได้อย่างไร จากการปลูก การซื้อมาขาย หรือเก็บหาจากป่า (2) ผักในกลุ่มที่มีความสับสน เช่น กระเพรา โหรพา แมงลัก หรือกลุ่มผักชีล้อม ผักชี คึ่นไช่ ผักชีใบเลื่อย ว่าจะจำแนกอย่างไร (3) ชนิดผักที่มาจากป่ามีอะไรบ้าง (4) ผักที่ขายเป็นชุดๆ พร้อมนำไปปรุงอาหาร มีอะไรบ้าง และ (5) ได้รู้จักผักบางชนิดที่เด่นๆ  เป็นต้น

           สิ่งหนึ่งที่เด็กๆ ได้เรียนรู้ คือ ประสบการณ์จาการสัมภาษณ์แม่ค้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การใช้ชีวิตในสังคม โดยเฉพาะการปฏิสัมพันธ์กับคน อันเป็นประสบการณ์นอกห้องเรียนอย่างดี โดยก่อนหน้านี้หลายคนรู้สึกกลัวที่จะไปสัมภาษณ์ แต่ก็ประทับใจและผ่านไปได้กับอารมณ์นั้น บางคนได้สัมผัสกับความรู้สึกที่เป็นภาระให้แม่ค้า แต่ก็ได้เรียนรู้ในการที่จะปรับกระบวนการทำงานให้หลีกเลี่ยงการรบกวนผู้อื่น อีกสิ่งหนึ่งที่ทุกคนได้ประสบ คือ ต้องคิดไวในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

           บทเรียนทางวิชาการและบทเรียนในการปฏิสัมพันธ์กับคนในสังคม ผ่านการเรียนรู้เรื่องผักพื้นบ้าน ได้สร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับนักศึกษาชีววิทยา ทั้งทางวิชาการและทางด้านสังคม หรือแม้กระทั่งผมเอง ก็ได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนกับเด็กๆ ไปด้วยในครั้งนี้ ซึ่งได้เห็นสิ่งที่เป็นข้อด้อยของกระบวนการ ที่จะนำไปปรับแก้ไขต่อไป นับเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตจริงๆ


                ผักกินกับน้ำพริกชนิดต่างๆ  

 ผักละม่อม (Clerodendrum indicum Kuntze) 

 กระเจียวขาว (Curcuma sp.) 
 ยอดกะทกรก (Olax scandens Roxb.) 
 ผักแว่น (Marsilea crenata C. Presl)

 ผักอีนูน (Adenia viridiflora Craib)



ผักเสียน (Cleoma gynandra L.)
 น้ำย่านาง (Tiliacora triandra (Colebr.) Diels.)



Sunday, May 24, 2015

อาหารพื้นบ้านของคนดอย ยอดเป้ง เห็ดถอบ และดอกอาว Traditional food of Karen people: Phoenix palm shoot, Mushroom and Curcuma inflorescences

อาหารพื้นบ้านของคนดอย ยอดเป้ง เห็ดถอบ และดอกอาว
Traditional food of Karen people: Phoenix palm shoot, Mushroom and Curcuma inflorescences

หลังจากที่ทีมของเราสำรวจกล้วยไม้ในพื้นที่ป่าผลัดใบ ในพื้นที่โครงการหลวงวัดจันทร์ อ.กัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ แล้วเสร็จ คุณป้าชาวกะเหรี่ยงพาเราไปเก็บหน่อเป้ง เพื่อนำมาแกงตามสไตล์ชาวกะเหรียง ซึ่งทีมงานของเราวันนี้เป็นชาวกะเหรี่ยงสองคน ตอนเย็นทำหน้าที่เพิ่มคือ เป็นพ่อครัวให้เราด้วย 
เป้ง (Phoenix acaulis Roxb.) เป็นพืชวงศ์ปาล์ม อยู่ในสกุลเดียวกับอินทผาลัม ชาวกะเหรี่ยงนำยอดอ่อนในลำต้นมาต้มกินเป็นผัก แต่กินสดก็ได้ รสชาดเหมือนยอดมะพร้าว แต่ผมคิดว่าอร่อยกว่า วิทย์ ผู้ช่วยผมที่เป็นชาวกะเหรี่ยงบอกว่า สมัยก่อนบนดอยไม่ค่อยมีผัก ก่อนวันแต่งงาน 1 วัน ชาวบ้านจะช่วยกันออกไปหายอดเป้งเอามาต้มหรือแกงแทนผัก งานหนึ่งก็ประมาณ 100 หัว ช่วงเวลาที่จะหาเอามากินกันก็คือ ช่วงไฟไหม้ป่า ในเดือนเมษายน-พฤภาคม นอกจากนี้ยังมักพบหนอนด้วงที่จะมากินยอดเป้ง ซึ่งมีขนาดใหญ่เกือบเท่าหัวแม่โป้ง เสร็จชาวบ้านเหมือนกันถ้าเจอ เอาไปตำกับน้ำพริก
วันนั้นเราออกไปหายอดเป้งกับคุณป้าชาวกะเหรี่ยง โดยเลือกหาต้นที่มีโคนใหญ่ๆ และกำลังแตกใบอ่อนมากมาก ซึ่งลักษณะแบบนี้จะทำให้มียอดอ่อนในลำต้นมากเป็นพิเศษ การเก็บเริ่มโดยตัดใบที่ยอดทิ้ง แต่ต้องระวังเพราะใบเป้งจะมีหนามยาว จากนั้นใช้มีดฟันลำต้นเหนือดิน แล้วผ่าเปลือกลอกออกจนถึงยอดอ่อนในลำต้น ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งสีขาว มันไม่ง่ายเลยที่จะเก็บหา แต่เมื่อบอกว่า มันอร่อยนะ มันก็ไม่เกินความสามารถ ประมาณ 1 ชม. เราเก็บยอดอ่อนเป้งได้ ประมาณ 10 กว่า หัว มูลค่าที่เขาขายกัน 6 หัว 20 บาท เรานำมาฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มใส่พริกแห้ง เกลือ กระเทียม และถั่วเน่าแผ่น รสชาดดีมาก
ในพื้นที่ที่เราสำรวจกล้วยไม้ ซึ่งเป็นป่าผลัดใบ ยังมีเห็ดถอบ ซึ่งกล่าวกันว่าเห็ดถอบที่วัดจันทร์ อร่อยมาก ตอนนี้กำลังออกใหม่ๆ ราคาลิตรละ 190-220 บาท คนจากถิ่นอื่น เช่น จากอ.ปาย เข้ามาหาเห็ดถอบที่นี่กันเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจะใช้ทัพพีเก่าๆ ขูดไปตามหน้าดิน จะเห็นเป็นหัวกลมๆ สีขาว เขาบอกว่าตอนนี้ถ้าหาได้วันละ 4 ลิตร ก็พอละ เราก็ทดลองหากับเขาบ้างได้มานิดหน่อย แต่สุดท้ายก็ไปซื้อมา 1 ลิตร มาแกงใส่พริก กะปิ ปลาร้า และยอดมะเม่า อร่อยมากเช่นกัน ตอนกัดเคี้ยวในปาก มันจะกรุบๆ มิน่าเล่าถึงนิยมกินกันมาก และราคาก็แพงด้วย นอกจากเป้ง และเห็ดถอบแล้ว เรายังเก็บช่อดอกอาวอ่อน (ดอกกระเจียว Curcuma sp.) มาต้มจิ้มกินกับน้ำพริกอีกด้วย ต้องเอายอดอ่อนถึงจะรำ (อร่อย) ถ้าแก่ไปจะออกรสเปรี้ยว
ชีวิตที่อยู่ร่วมกับป่าอย่างพอเพียง แม้จะเป็นไม่มีเงินทองมากมาย แต่ก็เป็นชีวิตที่มีความสุข ป่าหรือความหลากหลายทางชีวภาพให้อะไรต่อมวลมนุษย์อย่างไม่รู้จบ ฤาเราจะทำลายเขาด้วยมือเราได้หรือ!
After we finished our orchid survey in deciduous forest along to the area of Wat Chan Royal project, Kanlayaniwadhina District, Chiang Mai Province, Thailand, we followed 2 old Karen Ladies (one of the hill tribe people in Northern Thailand) to harvest young shoot of Phoenix acaulis.  Two of my assistants are Karen people as well, who shall cook dinner for us.
Phoenix acaulis Roxb. is a native palm in Thailand and belongs to the same genus of Date Palm. The fresh young shoot is edible as being fresh and raw or cooking as soup, traditional knowledge of Karen people.  Its taste like coconut shoot, a bit sweet, but I think it is more delicious. Mr.Vit who is Karen people and my assistant told me that in former time there was not enough vegetable for hill people. Thus, they use it as vegetable. One day before wedding ceremony, the villagers should help the host of ceremony by collecting this palm shoots, around 100 pieces to substitute vegetable. The harvest time is during April to May, after the forest burn. In addition, some plant of this palm shall be damaged by beetle larvae, but it is a good food for local people as well. They use this larvae to mix with chili past.
That day we walk out to collect palm shoot with old Karen ladies. The large stout stems with many young leaves indicated that inside the stem shall have a good young shoot. We started to collect by cutting the crown leaves, then use a knife cut the basal part of the stem as same level as the ground. The stems were cut to get young shoots inside stems. Around 1 hrs., we could collect about 10 pieces. 6 pieces are 20 Baht, less than a dollar. We cut in to small pieces then boiled with dried chili, a bit salt, garlic and dried fermented soybean, giving good test.
In the deciduous forest, where we were studying the orchid, also had hygroscopic earthstar mushroom, one of the popular mushroom in northern Thailand. If it emerges early, its price can be 190-220 baht in volume of a liter. If one can collect for 4 liter per day, they said it was enough. The people outside also came to collect this mushroom. It was said that the mushroom there more delicious than other area. We could not resist, if we did not have it for that dinner. We bought a liter to boil with dry chili, shrimp paste, fermented fish and young leaves of Antidesma (in Thai called ma-mao). It was so delicious. That why it is so popular and expensive. Beside, palm shoots and mushroom, there were inflorescence of Curcuma which we boil and had with chilly past. The young inflorescence shall be better than the old one.

The life style depend on the forest as sufficient way may not serve you rich but it is happy life. Forest or biodiversity give us endless. Shall we destroy the forest by our hand?
ต้นเป้ง Phoenix acaulis Roxb.


ผลเป้ง กินได้ Its fruit is edible.


วิธีตัดเก็บยอดอ่อน เริ่มจากกันตัดลำต้นออกมา How to collect its young shoots, first cut and take the stems.


แม่เฒ่าหิ้วหัวเป้งมาให้ Old Karen Lady is carrying its stems.


ตัดผ่าเอายอดอ่อนข้างใน Cut to get young shoot inside the stem


ตัดผ่าเอายอดอ่อนข้างใน Cut to get young shoot inside the stem


ตัดผ่าเอายอดอ่อนข้างใน Cut to get young shoot inside the stem





แม่เฒ่ากำลังหาเห็ดถอบ She is searching  young hygroscopic earthstar mushroom



เห็ดถอบ hygroscopic earthstar mushroom
ดอกอาวหรือดอกกระเจียว Curcuma inflorescence



ห้องครัวในบ้านคนกะเหรี่ยง







ข้าวไร่กะเหรี่ยง Karen rice


แกงเห็ดถอบ Mushroom soup




ต้มยอดเป้ง Palm shoot soup


ไก่ต้อมยอดมะขาม Chicken in tamarin soup 


ยอดดอกกระเจียวลวก Boiled Curcuma inflorescence

Friday, March 20, 2015

แผ่นภาพพรรณไม้ เพื่อการตรวจสอบชื่อ Plant Ident. Sheet

แผ่นภาพพรรณไม้ เพื่อการตรวจสอบชื่อ เครื่องมือสำหรับพฤกษศาสตร์ชุมชน
Plant Ident. Sheet a tool for Citizen Botany 
สันติ วัฒฐานะ (Santi Watthana)
สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ (Queen Sirikit Botanic Garden)
21 มีนาคม 2558 (21 March 2015)

          ระหว่างที่กำลังเตรียมการอบรมนักพฤกษศาสตร์ เพื่อไปเป็นวิทยากรในหลักสูตรฝึกอบรมนักพฤกษศาสตร์ ให้กับครูชีววิทยาโรงเรียนมัธยม ระหว่างวันที่ 25-27 มีนาคม 2558 ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้พยายามคิดว่า ทำอย่างไร จะให้คนรักการศึกษาด้านพฤกษศาสตร์ โดยเฉพาะ วิชาอนุกรมวิธาน ที่เป็นวิชาเกี่ยวกับการตรวจสอบหรือระบุชื่อพืช การจัดจำแนกพืข และกฎระเบียบเกี่ยวกับการตั้งและใช้ชื่อพืช หลายคนบอกว่าน่าเบื่อเพราะต้องจำชื่อพืชที่เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ยาวๆ
          ถ้าจะบอกให้ทำตามกระบวนการการศึกษาทางพฤกษศาสตร์โดยตรงอาจจะไม่ได้ผล จึงหาทางที่จะส่งเสริมให้ผู้เริ่มต้นได้ทำกิจกรรมที่ไม่น่าเบื่อ แล้วใช้กระบวนการทางการศึกษามาใช้ประกอบ สุดท้ายก็คิดถึงการถ่ายภาพดอกไม้สวยๆ และการสะสมภาพพืชที่หลากหลาย เหมือนกับการสะสมสแตมป์ การสะสมพระเครื่อง
          แต่ถ้าภาพถ่ายในมุมกว้าง จะไม่เห็นลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่ใช้ในการจำแนกได้ ซึ่งบ่อยครั้งที่คนที่สนใจด้านชนิดพืช ถ่ายภาพมาถามนักพฤกษศาสตร์ แต่ในภาพมิได้ให้ข้อมูลที่ดีสำหรับการตรวจสอบชื่อ จึงไม่สามารถตรวจสอบชื่อให้ได้ ดังนั้นหากถายภาพพรรณไม้แล้วเพิ่มการถ่ายภาพที่แสดงให้เห็นถึงรายละเอียดของลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่ชัดเจนในการตรวจสอบชื่อหรือการจำแนกพืช จะเป็นประโยชน์มาก แน่นอนเกือบทุกคน อยากทราบว่า ดอกไม้ที่ถ่ายภาพมาคืออะไร และถ้าเข้าใจกระบวนการการตรวจสอบชื่อ และสิ่งที่จำเป็นในการตรวจสอบชื่อพืช เขาเหล่านั้นก็จะเริ่มที่จะเรียนรู้ลักษณะทางพฤกษศาสตร์มากขึ้น เริ่มมองรายละเอียดโครงสร้างพืชมากขึ้น เริ่มรู้จักเปรียบเทียบความเหมือนกับความต่างของแต่ละชนิดมากขึ้น เริ่มบอกได้ว่าแต่ละชนิดมีลักษณะเด่นอย่างไร เหมือนการสะสมความรู้และภาพประกอบ เมื่อได้ทราบได้รู้ ก็มีความภูมิใจ และเริ่มการแชร์ส่งผ่าน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เหมือนสร้างกิจกรรมงานอดิเรกสำหรับผู้คนที่เอาองค์ความรู้ด้านวิชาการมาเสริม ในที่สุดเราอาจจะได้นักพฤกษศาสตร์เพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องไปเรียนในห้องเรียน และน่าจะเป็นการเริ่มต้นของการสร้างพฤกษศาสตร์ชุมชน ที่จะมีกลุ่มคนที่สามารถสนับสนุนงานวิชาการด้านพฤกษศาสตร์มากขึ้น โดยมิได้มีแต่เฉพาะผู้ที่เรียนมาทางด้านพฤกษศาสตร์เท่านั้น และยังเป็นการสร้างนักพฤกษศาสตร์ให้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

       
ตัวอย่างแผ่นภาพพรรณไม้ สำหรับการตรวจสอบชื่อ จะเห็นได้ว่ามีลักษณะคล้ายกับการทำตัวอย่างพรรณไม้แห้ง (คุณน่าจะเรียงภาพได้สวยงามและเป็นระเบียบได้มากว่าภาพนี้) 
Plant Ident. Sheet, it is like preparing herbarium sheet. (You may arrange the pictures on the sheet better than this picture.)
       
สำหรับโครงสร้างของดอกที่มีขนาดเล็ก เราสามารถใช้กล้องคอมเพ็ก ถ่ายต่อจากกล้องซูมได้
 
          During I was preparing the presentation for teaching on how to be botanist, I was trying to present something for the beginner. To avoid the boring process of  taxonomy, taking photograph to show detail of plant morphological characters and arranges the pictures like a herbarium sheets may let the beginners enjoy to learn plant morphology and plant identification. It likes a collection which may be a good hobby. Then it shall be increased more people who can identify plant. Thus it may be a good tool for set up citizen botany.

Key word: plant identification, plant picture, plant morphology, plant species. การตรวจสอบชื่อพืช ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ชื่อพืช

       

Friday, March 13, 2015

ตรวจสอบชื่อกล้วยไม้ ในหอพรรณไม้ สวนพฤกษศาสตร์มากิโน ประเทศญี่ปุ่น

ตรวจสอบชื่อกล้วยไม้ ในหอพรรณไม้ สวนพฤกษศาสตร์มากิโน ประเทศญี่ปุ่น
สันติ วัฒฐานะ
สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ 
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
14 มีนาคม 2558

            ระหว่างวันที่ 1-13 มีนาคม 2555 ผมได้รับเชิญจากสวนพฤกษศาตร์มากิโน ประเทศญี่ปุ่น ให้ไประบุชื่อตัวอย่างกล้วยไม้ที่เก็บมาจากประเทศพม่า ภายใต้โครงการสำรวจชนิดพรรณไม้ในเขตอุทยานแห่งชาตินัทมาตาง รัฐฉิ่น ประเทศพม่า โดยมีเป้าหมายที่จะนำแสนอรายชื่อพืชที่พบในป่าธรรมชาติของอุทยานแห่งชาตินัทมาตาง ภารกิจของผม คือ ระบุชื่อตัวอย่างกล้วยไม้ในหอพรรณไม้แห่งนี้ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ตัวอย่างพรรณไม้ที่ผมต้องระบุชื่อมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ ตัวอย่างแห้ง ซึ่งเป็นกิ่งที่มีดอกมาอัดแห้งแล้วเย็บบนกระดาษแข็งสีขาว และตัวอย่างดองซึ่งเก็บชิ้นส่วนของพืชดองไว้ในขวดแอลกอฮอล์ 70% การเก็บตัวอย่างทั้งสองแบบนี้จะเป็นการเก็บตัวรักษาอย่างให้ได้ยาวนานเพื่อใช้เป็นตัวอย่างในการศึกษาวิจัยและการอ้างอิง ส่วนของดอกจะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นส่วนที่ใช้ในการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างชนิดพันธุ์ เราจะเห็นว่าในแต่ละตัวอย่างต้องมีป้ายรายละเอียดพันธุ์ไม้ติดอยู่ โดยจะเขียนลักษณะที่มองไม่เห็น หรือลักษณะที่เปลี่ยนไปเมื่อกลายเป็นตัวอย่างแห้ง เช่น สี ลักษณะนิสัย (เช่น ไม้ต้น ไม้ล้มลุก ไม้อิงอาศัย หรือกาฝาก เป็นต้น) สถานที่เก็บ วันที่ และข้อมูลอื่นๆ ที่จะเป็นตัวแทนของลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืชชนิดนั้นๆ ตัวอย่างแต่ละตัวอย่างจึงเป็นตัวอย่างสำหรับการวิจัย

หอพรรณไม้ที่เก็บรวบรวมตัวอย่างแห้ง ที่สวนพฤกษศาสตร์มากิโน Herbarium specimens in Makino Botanical Garden's herbarium

เนื่องจากส่วนของดอกกล้วยไม้จะถูกอัดทับจนแบนและแห้ง ผมจึงต้องนำดอกกล้วยไม้ในแต่ละตัวอย่างไปต้มและใส่น้ำยาล้างจานไปเล็กน้อยเพื่อไล่อากาศในเซลล์ โดยพยายามไม่ให้ตัวอย่างเสียหาย นักพฤกษศาสตร์คนอื่นจะได้มาดูต่อ จากนั้นจะศึกษาตัวอย่างใต้กล้องสเตอริโอซูม หรือกล้องขยาย เพื่อศึกษารายละเอียดโครงสร้าง รูปร่าง หรือลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของแต่ละตัวอย่าง แต่สำหรับตัวอย่างดอง เราไม่จำเป็นต้องนำไปต้ม เพราะรูปทรงยังคงเดิม เพียงแต่สีหายไปเท่านั้น

อุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับการระบุชื่อ คือ รูปวิธาน หรือ key สำหรับระบุสกุลและชนิดกล้วยไม้ ซึ่งจะอยู่ในเอกสารทางพฤกษศาสตร์ และหนังสือพรรณพฤกษชาติ (flora) ของแต่ละภูมิภาค หรือแต่ละประเทศ เช่น พรรณพฤกษชาติของประเทศจีน พรรณพฤกษชาติของประเทศภูฎาน หรือพรรณพฤกษชาติของประเทศไทย เป็นต้น รวมถึงผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการในวารสารทางพฤกษศาสตร์ต่างประเทศ ที่ทำการทบทวนกล้วยไม้ในแต่ละสกุล ซึ่งปัจจุบันหนังสือพรรณพฤกษชาติยังไม่สมบูรณ์ โดยพื้นฐานแล้ว ชนิดกล้วยไม้ในประเทศพม่าจะใกล้เคียงกับของไทย ผมจึงใช้เอกสารวิชาการ ชุด สกุลกล้วยไม้ในประเทศไทย (the orchid genera of Thailand) เขียนโดย Dr.Gunnar Seidenfaden เป็นหลัก และค่อนข้างโชดดีที่ในหนังสือพรรณพฤกษชาติเหล่านั้นมีคำบรรยายลักษณะทางพฤกษศาสตร์และมีภาพวาดทางพฤกษศาสตร์ประกอบด้วย เมื่อได้ชื่อตามรูปวิธานแล้ว เราสามารถตรวจสอบอีกครั้งกับลักษณะทางพฤกษศาสตร์ว่าตรงกันหรือไม่
สภาพโต๊ะทำงานในการตรวจสอบชื่อกล้วยไม้ มีเตาไฟฟ้า หนังสือพรรณพฤกษชาติ  กล้องสเตอริโอซูม คอมพิเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เนต ตัวอย่างแห้ง และตัวอย่างดอง Work environment for identification shows electric stove, flora books, steriozoom microscope, computer with internet connection, dried and spirit specimens.
ลักษณะของรูปวิธานจะมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ให้เลือกเป็นคู่ ซึ่งแต่ละคู่จะเป็นส่วนโครงสร้างของพืชแบบเดียวกัน เช่น ดอกมีเดือยกลุ่มหนึ่ง และดอกไม่มีเดือยอีกกลุ่มหนึ่ง จากนั้นเราก็ดูว่าตัวอย่างของเราว่า เป็นชนิดที่มีเดือยหรือไม่ เมื่อเลือกให้ตรงกับรูปวิธานแล้ว ก็ดูที่คู่ต่อไปเรื่อยๆ จนได้ชนิดตามรูปวิธานนั้น แล้วตรวจสอบลักษณะทางพฤกษศาสตร์ประกอบอีกที ซึ่งบางครั้งเราก็คีย์ไม่ออก เนื่องจากตัวอย่างที่เรากำลังดู ไม่ใช่ชนิดที่พบในประเทศนั้นหรือในหนังสือพรรณพฤกษชาตินั้น ต้องหารูปวิธานที่จากแหล่งอื่นมาใช้ ซึ่งบางครั้งเราอาจเทียบกับตัวอย่างต้นแบบ (type specimens) ซึ่งหลายหอพรรณไม้นำเสนอทางเว็บไซด์
เมื่อนักพฤกษศาสตร์ระบุชื่อพฤกษศาสตร์ได้แล้ว จะเขียนชื่อพฤกษศาสตร์ในป้ายตรวจสอบชื่อ เซ็นต์ชื่อผู้ระบุชื่อและวันที่ และเมื่อต้องการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ ผู้เขียนจะอ้างถึงตัวอย่างที่ศึกษา ซึ่งสามารถตรวจสอบได้และเป็นกระบวนการหนึ่งทางวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างพรรณไม้แห้งจึงเป็นตัวอย่างทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญที่ใช้ในการอ้างอิง ลองนึกดูว่า ถ้า มีการศึกษาว่า กล้วยไม้ชนิดหนึ่งมีสรรพคุณแก้โรคมะเร็ง แล้วตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ แต่ไม่มีการอ้างถึงตัวอย่างพรรณไม้แห้ง และสถานที่เก็บตัวหรือ อันได้แก่หอพรรณไม้ใด ใครจะทราบหรือพิสูจน์ตามได้ เป็นต้น ดังนั้นหอพรรณไม้และตัวอย่างพืชจึงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์


ตัวอย่างที่ได้รับการตรวจสอบชื่อแล้ว จะมีป้ายชื่อระบุถึงผู้ตรวจสอบ The specimen which has been identified with determinative labels.

ในปัจจุบันนักอนุกรมวิธาน หรือผู้ที่ทำงานด้านการจำแนกชนิด ประสบกับปัญหาการขอทุนวิจัย นักพฤกษศาสตร์จึงขาดโอกาสในการศึกษาวิจัยเพื่อที่จะนำข้อมูลไปสร้างรูปวิธานของพืชในประเทศ ให้เราได้ใช้กัน เนื่องจากหลายคนคิดว่าเป็นงานวิจัยพื้นฐานที่ไม่สามารถเป็นนวตกรรมใหม่ได้ เรามักจะลืมกันว่า ชื่อพืชที่ถูกต้องตามกฏการตั้งชื่อ การกำหนดขอบเขตของชนิด และการจัดกลุ่มพืชทางพฤกษศาสตร์ เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับพืชทั้งหมด พื้นฐานสำคัญ คือ สื่อสารได้ตรงกันทั่วโลก และเรายังใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องเชื่อมโยงกับข้อมูลได้อีกมากมาย เป็นข้อมูลที่บ่งบอกถึงความหลากหลายของทรัพยากรของชาติและเชื่อมโยงกับภูมิปัญญาที่กำลังจะหายไปทุกวัน เป็นที่ทราบกันว่าปัจจุบันสิ่งมีชีวิตหลายชนิดได้สูญพันธุ์ไปแล้ว นักพฤกษศาสตร์ก็เช่นกัน อาจจะสูญพันธุ์ไปในไม่ช้า หลายคนคิดว่ามันเป็นวิชาที่น่าเบื่อเพราะต้องท่องจำ แท้จริงแล้วมันต้องการการฝึกฝนและลงมือทำต่างหาก
ผมเพลิดเพลินกับการตรวจสอบชื่อกล้วยไม้ ที่หอพรรณไม้สวนพฤฤกษศาสตร์มิกิโน จนแทบจะลืมโลกไปเลย ได้ใส่ชื่อตัวอย่างกล้วยไม้ไม่ต่ำกว่า 300 ตัวอย่าง ทำงานตั้งแต่ 8 โมงเช้า จนถึง 1 ทุ่ม บางวันทำถึงเที่ยงคืน มันเป็นเวลาที่ยาวนาน แต่เป็นเหมือนว่าได้พักผ่อนกับสิ่งที่ชอบเหมือนกับงานอดิเรก ใช่แล้วครับ การระบุชื่อพืช เป็นงานอดิเรกที่ดีมาก โดยเฉพาะถ้าคุณชอบถ่ายภาพพืช แล้วเราสามารถใส่ชื่อพฤกษศาสตร์ได้ มันจะเป็นการสะสมที่ดีเยี่ยม นอกจากนี้ในช่วยเวลาที่คุณเดินป่าศึกษาพรรณไม้ จะเป็นกิจกรรมนันทนาการที่ดีมาก ผมรู้จักหลายคนที่มีใจรักในการถ่ายภาพกล้วยไม้และระบุชื่อกล้วยไม้ ทั้งที่พวกเขาเหล่านั้นไม่ได้เรียนมาทางพฤกษศาสตร์เลย คุณก็ทำได้ เพียงแค่คุณชอบที่จะทำ

Orchid identification at Makino Botanical Garden, Japan
Santi Watthana
Queen Sirikit Botanic Garden
Chiang Mai, Thailand
14 March 2015

            During 1-13 March 2015, I have been invited to Makino Botanical Garden for identify the orchid specimens which were collected from Myanmar, under the plant inventory Project, in Nat Mataung National Park, Chin State, Myanmar. The enumeration of the vascular plants is the objective. My task was to identify the orchid specimens, depositing at that herbarium. The specimens were two forms, herbarium sheets which are the dried floral parts of the plant that were mounted in a hard white paper and spirit collection which are the part of floral part are preserved in 70% alcohol.  Both methods can be preserved the voucher specimens for long time for being referenced specimens for scientific researches. Usually, the floral part is very important part because the floral characters are essential for identification. Ideally, the specimen should be representative whole the plant characteristic and preserve for long time. Please note that the label of each specimen is crucial needed. Plant charactes especially color of each part, habit (i.e. tree, shrub, epiphyte or parasite), locality, date and relevant notes shall be included in the label and then attached on each specimen. Each specimen means a research material.
             Because the floral parts, especially the orchid flowers, were pressed and dried, then, I needed to soften by boiling and put some detergent to get rid of air in the plant cell with undamaged concerning, so that, the next botanists could use them in the future. Then I took the specimen under microscope for observing their morphology. While, it needs not to boil the spirit specimens and they show pretty good morphological shape, except colorless.
ตัวอย่างพรรณไม้แห้งและต้วอย่างดอง Dried and spirit specimens


ตัวอย่างแห้งที่นำมาต้มให้นิ่ม The specimen after boil


ตัวอย่างดอง Spirit specimen
The important tool for identification is the taxonomic keys which are prepared by botanists. We can find the identification keys in Floras, which are the plant identified publications and deal with floristic regions or countries, such as Flora of Thailand, Flora of China Flora of Bhutan, etc. I used those floras of the orchid family to identify the specimens. The Flora of Myanmar has not been completed. Basically, I used the publication, title the orchid genera of Thailand written, by Dr. Seidenfaden due to rather similarity between Myanmar and Thai orchids. Fortunately, the orchid floras usually comprise description and illustration of each species. Thus, after we use the key for identification we could confirm the illustration of each species
Key is like a dichotomous question, pair questions, of the same plant characters, such as flowers with spur or without spur. Then you observe at your plant and select one choice according to the key, and  then continue follow the key until you get the species name in the key. However, it needs to check the description of each species name to make sure that is the same. Please note that some flora key is limited for the plant in particular regions of that flora, thus sometime that key does not match with the specimen. Then try another key. Sometime you can compare with type specimen which may be available online by some herbaria.
            When botanists succeed to identify name of the specimen, they shall write in the determinative label, as well as sing their name and date of identification. If the botanists write the botanical article publishing in botanical journal, they shall cite the specimen’s number by using the collector numbers. It is a process of science which can be proved. Can you imagine how we shall know the plant if scientist found that orchid can be proved to be anti-cancel without citation of specimen and herbarium. Thus the herbarium is so important for science.
            Unfortunately, taxonomic research or the research on plant classification becomes to difficult to get funding and neglecting. Thus, it is difficult for botanist to construct key for plant identification in their home country. Many people though that it just a basic science which resulting nothing. They do emphasize on innovation research to get products. However, plant names could be linked or communicated correctly, used or talked with the same plant. Right now, many species in the world are facing with extinction. Taxonomist is facing with extinction too. One reason, people think that taxonomy is boring subject because it is just modernized subject. From my experience, it needs to practice as usual instead.
            I did enjoy for orchid identification during visiting Makino Botanical Garden. More than 300 specimens were identified during 2 weeks, starting from 8 am to 7 pm, including some days until midnight. I forgot the world during doing this task. That is my most favorite work. Enjoy to identify plant deserve you like a good hobby. You are no need to be botanist. If you love to know what that plant species is, just go on the process. If you like to take picture of plants and if you can know how to identify plant you shall have a good collection like a leisure. Beside, you shall enjoy when you walk in the natural forest. I know many people who do not graduate on Botany but they have high skill for plant identification. I believe you can do it! Just love to do it.